บริการให้คำปรึกษาการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
- ให้คำปรึกษาทั่วไปเกี่ยวกับการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
- ให้คำปรึกษาทั่วไปเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กฎกระทรวงระเบียบของ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำแผนงานการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
- ให้คำแนะนำกับเจ้าของโครงการและสมาชิกหมู่บ้านเกี่ยวกับการเตรียมการ
- สำรวจผังจัดสรรและรายการทรัพย์สิน
- จัดทำบัญชีทรัพย์สิน
– รายการสาธารณูปโภค
– รายการบริการสาธารณะ
- ยกร่างข้อบังคับและกฎระเบียบของหมู่บ้านโดยความเห็นชอบของเจ้าของโครงการ
- จัดทำหนังสือแจ้งผู้ซื้อและสมาชิกหมู่บ้านเพื่อเตรียมการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- จัดทำเอกสารเตรียมการประชุมใหญ่
- จัดส่งหนังสือเชิญประชุมใหญ่
- ดำเนินการประชุมใหญ่สมาชิกหมู่บ้าน
- จัดทำรายงานการประชุม
- จัดทำเอกสารยื่นจดทะเบียน
- เป็นตัวแทนดำเนินการยื่นจดทะเบียน
- จัดทำงบประมาณการบริหารจัดการหมู่บ้าน
- จัดทำอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ เพื่อใช้ในการลงคะแนนเสียงและจัดเก็บค่าใช้จ่าย
- จัดทำตารางจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางของหมู่บ้าน
- ให้คำปรึกษาในการโอนและรับโอนสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้กับคณะกรรมการหมู่บ้าน
ซึ่งจำเป็นต้องมีเอกสารจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรดังต่อไปนี้ในการดำเนินการ
- ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
- รายละเอียดโครงการ/ วิธีการจัดสรร/ ผังโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานที่ดิน
- บัญชีรายชื่อ-ที่อยู่ ของสมาชิกเจ้าของบ้าน
- สำเนาโฉนดที่ดินในที่ดินโครงการทุกแปลง (หน้า-หลัง)
- สำเนาโฉนดที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ เช่น ถนน สวนหย่อม หนังสือรับรองบริษัทฯ เจ้าของโครงการ
- บันทึกการตรวจสอบการก่อสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะของเจ้าพนักงานที่ดินที่รับรองว่าได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสำนักงานนิติบุคคล
เมื่อดำเนินการสำเร็จ ผลของการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ม.46 ม.47) มีดังต่อไปนี้
- มีฐานะเป็นนิติบุคคล
- มีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินการแทน
- ผู้ซื้อจัดสรรเป็นสมาชิก
- ผู้จัดสรรที่ดินเป็นสมาชิก กรณียังถือกรรมสิทธิ์อยู่
ระเบียบการว่าด้วยเรื่องอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ม.48)
1.กำหนดระเบียบเกี่ยวกับใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค
2.กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการจราจรภายในโครงการ
3.เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
4.ยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกกรณีกระทบสิทธิ์/ประโยชน์ ตั้งแต่สิบรายขึ้นไป
5.จัดให้มีการบริการสาธารณะแก่สมาชิก จัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณะประโยชน์
6.ดำเนินการอื่นๆ ตามกฎหมายกระทรวง ฯลฯ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่าย (ม.49 ม.50 ม.59)
1.จัดเก็บเป็นรายเดือนตามอัตราที่กำหนด
2.วันเริ่มจัดเก็บครั้งแรกต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันประชุมใหญ่ของสมาชิก
3.วิธีการและสถานที่จัดเก็บ
4.กำหนดค่าปรับหรือมาตรการบังคับ กรณีชำระล่าช้าหรือค้างชำระ 3 เดือนหรือ 6 เดือน
– ค้างชำระติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการให้บริการ/สิทธิประโยชน์
– ค้างชำระติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป ระงับการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม
บริการการจัดทำบัญชีการเงินนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
- จัดทำงบดุลยื่นคณะกรรมการภายใน 3 เดือน นับแต่วันสิ้นงวดบัญชี โดยมีผู้สอบบัญชีรับรอง
- ประกาศงบดุลโดยเปิดเผย
- หากไม่ถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้
- ให้แก้ไขเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากไม่แล้วเสร็จ
– ระงับการปฏิบัติงานบางส่วน
– ให้หยุดดำเนินการชั่วคราว